วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Corporate Turnaround

การพลิกฟื้นองค์กร (Corporate Turnaround)

วัตถุประสงค์ของบทความนี้ คือเพื่อให้เข้าใจความคิดหลัก Corporate Turnaround (เรียบเรียงมาจากหนังสือชื่อ Corporate Turnaround: How managers turn losers into winners เขียนโดย Donald B.Bibeault (1982)) และสามารถนำไปใช้งานได้จริง จึงกำหนด บทความเป็น 3 หัวข้อคือ 1) ความคิดหลัก 2) นำมาใช้เมื่อใด และ 3) การวิเคราะห์สุดท้ายและประยุกต์ใช้งาน โดยในหัวข้อสุดท้าย ผู้เขียนจะเสนอ การวิเคราะห์ว่า สามารถนำเอาแนวคิดของ Donald ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างไร


1. ความคิดหลัก (Core Idea)

การพลิกฟื้นองค์กรหรือบริษัทหรือธุรกิจ (Corporate Turnaround) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงผลการดำเนินงานขององค์กร ให้เป็นบวกอย่างต่อเนื่องและมีนัยสำคัญ

ผลการสำรวจ 81 บริษัท ที่ทำการพลิกฟื้นองค์กร พบว่าระยะเวลาขององค์กรขาลงหรือตกต่ำใช้เวลาประมาณ 3.7 ปี และการฟื้นตัวใช้เวลาเฉลี่ย 4.1 ปี รอบของการพลิกฟื้นองค์กรประมาณ 7.8 ปี และ แต่อย่งไรก็ตามบริษัทใหญ่จะใช้เวลาการพลิกฟื้นองค์กรนานกว่าบริษัทที่มีขนาดเล็ก

Donald ให้เหตุผลว่าองค์กรที่ประสบความล้มเหลวหรืออยู่ในสภาพตกต่ำ อาจเกิดมาจากสาเหตุของปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน
ปัจจัยภายนอกประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางการแข่งขัน การเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐบาลหรือกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย การบริหารจัดการไม่ดี การบริหารแบบล่าช้ามีหลายขั้นตอน การมีผู้นำแบบข้ามาคนเดียว การเปลี่ยนแปลงการบริหารงาน ความไม่มีเอกภาพของผู้บริหารระดับสูง ส่วนงานการเงินทำหน้าที่ไม่แข็งแรง และการที่คณะกรรมการบริษัทไม่มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

การบริหารจัดการไม่ดี เช่น ล้มเหลวที่จะเปลี่ยนแปลงองค์กรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงด้านตลาด ขาดการควบคุมการดำเนินงาน ขยายงานหรือ กิจการเกินตัว หรือใช้เงินกู้มากเกินไป

องค์กรที่ล้มเหลว มักเพิกเฉยต่อปัญหา จนกระทั่งกิจการขาดทุน เพราะผู้บริหารแต่ละคนมัวยุ่งกับภารกิจของหน่วยงานตนเอง จนไม่มีเวลาแก้ไขปัญหาขององค์กรร่วมกัน

ประเภทการพลิกฟื้น สามารถแบ่งได้ดังนี้ การพลิกฟื้นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน การพลิกฟื้นที่เกิดจากสาเหตุรอบของเศรษฐกิจ การพลิกฟื้นทีเกิดจากภาวะการแข่งขัน การพลิกฟื้นด้วยผลิตภัณฑ์ใหม่ และการพลิกฟื้นที่เกิดจากนโยบายรัฐหรือกฎหมาย

2. นำมาใช้เมื่อใด (When to use it)
การพลิกฟื้นองค์กรมักทำเมื่อองค์กรประสบการขาดทุน หรือทำหลังจากที่กำไรขององค์กรตกลงอย่างต่อเนื่องต่อ หรือทำเมื่อขีดความสามารถการแข่งขันขององค์กรลดลง ความเชื่อมั่นของลูกค้าตกต่ำ และขวัญกำลังใจของพนักงานลดลง

3. การวิเคราห์สุดทายและประยุกต์ใช้งาน (Final Analysis and Application)
Donald กล่าวว่าการพลิกฟื้นองค์กรมักเป็นการพลิกฟื้นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงาน เพราะการที่องค์กรตกต่ำมักเกิดจากจากปัจจัยภายในคือการที่กระบวนการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ โดยพื้นฐานหลักของการพลิกฟื้นนั้น คือการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร

ปัจจัยที่ทำให้การพลิกฟื้นประสบความสำเร็จคือ 1) การปรับปรุงกระบวนการทำงาน 2) ธุรกิจหลักที่มีอนาคต 3) มีเงิน 4) การปรับปรุงแรงจูงใจ

หลักการของการพลิกฟื้นองค์กร (Corporate Turnaround) เป็นหลักการเหมือนกับการ การปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation)

John P. Kotter เสนอ 8 ขั้นตอนของการปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ไว้ดังนี้ 1) สร้างการตระหนักของความเร่งด่วนของการเปลี่ยนแปลง 2) สร้างทีมนำการเปลี่ยนแปลง 3) กำหนดวิสัยทัศน์และยุทธ์ศาสตร์ที่ชัดเจน 4) สื่อวิสัยน์ทัศน์ให้พนักงานเข้าใจและมีส่วนร่วม 5) มอบอำนาจในการแก้ปัญหาอุปสรรค 6) กำหนดแผนชัยชนะในระยะสั้น ( Quickwin) 7) สร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง 8) สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร

การนำเอาแนวคิดและหลักการของ 1) การพลิกฟื้น (Corporate Turnaround) ของ Donald B.Bibeault (1982) 2) การนำเอาหลักการแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติของ Kaplan and David (1996) และ 3) หลักการ Leading Change ของ John P.Kotter (1996) และ 4) หลักการของ Big Ideas to Big results ของ Michael T. Kanazawa and Robert H.Miles (2008) สามารถกำหนดเป็น กรอบการพลิกฟื้น Turnaround หรือ การปรับเปลี่ยนองค์กร (Transformation) ได้ดังนี้
Insert Picture Here