เราสามารถประเมินความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Strengths Assessment) ขององค์กรหรือบริษัทเปรียบเทียบกับคู่แข่งที่สำคัญในอุตสาหกรรมได้ โดยการประเมินปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Key Success Factors) หรือประเมินทรัพยากรและขีดความสามารถที่ใช้ในการแข่งขัน หรือกิจกรรมในห่วงโซ่คุณค่า ข้อมูลเหล่านี้ได้มาจากการวิเคราะห์อุตสาหกรรม การวิเคราะห์การแข่งขัน ทำให้ได้ปัจจัยที่สำคัญที่แยกผู้ชนะจากผู้แพ้ การเปรียบเทียบ (Benchmarking) กับคู่แข่งทำให้ทราบว่าปัจจัยใดแข็งแรงกว่าคู่แข่ง เช่น ต้นทุน คุณลักษณะหลักของสินค้า การบริการลูกค้า ภาพลักษณ์ ชื่อเสียง ความแข็งแกร่งด้านการเงิน ทักษะด้านเทคโนโลยี่ ความสามารถในการกระจายสินค้า และปัจจัยอื่นๆ การวิเคราะห์เหล่านี้ทำให้ทราบว่าปัจจัยใดสำคัญในการแข่งขัน
ขั้นตอนการประเมินความสามารถในการแข่งขัน
ขั้นตอนที่ 1 ระบุ KSF หรือปัจจัยตัววัดความแข็งแรงในการแข่งขัน 6-10 รายการ
ขั้นตอนที่ 2 กำหนดน้ำหนักความสำคัญของปัจจัย (Importance Weight) ในแต่ละปัจจัย (น้ำหนักรวมเท่ากับ 1.0)
ขั้นตอนที่ 3 ให้คะแนนความแข็งแรง (Strength Rating) ในแต่ละปัจจัย โดย 1 หมายถึง อ่อนแอมาก 10 หมายถึงแข็งแรงมาก
ขั้นตอนที่ 4 คำนวณคะแนน (Weighted Score) โดยนำค่าน้ำหนักความสำคัญของปัจจัย คูณกับคะแนนความแข็งแรง (Strength Rating*Weighted Score)
ตารางที่ 1 Competitive Strengths Assessment
Source: Thomson et al (2014)
จากตาราง แสดงตัวอย่างการประเมินความสามารถในการแข่งขันของบริษัท ABC เทียบกับคู่แข่งอีก 2 ราย ในตัวอย่าง ต้นทุนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการวัดความสามารถในการแข่งขัน (Competitive Strength) ส่วนปัจจัยอื่น ๆ มีความสำคัญน้อยกว่า บริษัท ABC มีคะแนนด้านต้นทุน weighted score = 1.5 (0.30*5) ส่วนคู่แข่งรายที่ 1 มีคะแนน weighted score = 3.0 (0.30*10) มีความแข็งแรงมากที่สุดหรือมีความสามารถสูงสุดในการแข่งขันด้านต้นทุน ส่วนคู่แข่งรายที่ 3 มีคะแนน weighted score = 0.3 (0.30*1) เป็นบริษัทที่มีอ่อนแอมากในเรื่องความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนภาพรวมของคะแนนการแข่งขันชี้ให้เห็นว่า โดยรวมบริษัทใดมีความสามารถในการแข่งขันมากที่สุด ถ้าคะแนนรวมของ weighted score สูง แสดงว่าบริษัทมีความสามารถในการแข่งขันสูง หรือมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนั้นจากตาราง คู่แข่งรายที่ 1 มีความสามารถในการแข่งขันมากที่สุดหรือได้เปรียบในการแข่งขันมากที่สุด จากตารางอันดับ 1 คือคู่แข่งรายที่ 1 ซึ่งมีคะแนนรวมเท่ากับ 7.70 อันดับ 2 คือบริษัท ABC ซึ่งมีคะแนนรวมเท่ากับ 5.95 อันดับ 3 คือคู่แข่งรายที่ 3 ซึ่งมีคะแนนรวมเท่ากับ 2.10
นอกจากการประเมินความสามารถในการแข่งขันทำให้เห็นว่ารายใดมีความสามารถในการแข่งขันแล้ว ยังใช้ผลการวิเคราะห์กำหนดกลยุทธ์เชิงรุกและเชิงรับ เช่น บริษัท ABC หากต้องการเพิ่มยอดขายและส่วนแบ่งตลาด การพุ่งเป้าโจมตีคู่แข่งรายที่ 2 ก็จะง่ายกว่าคู่แข่งรายที่ 1 เพราะมีหลายปัจจัยที่เหนือกว่าคู่แข่งรายที่ 2
ที่มา Thompson, Peteraf, gamble, Strickland, Crafting and Executing Strategy: The Quest for Competitive Advantage, Concepts and Cases, 19th edition, McGrawHill, 2014, Table 4.4 Competitive Strength Assessment page 110
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น