แนวคิด
Balanced Scorecard (BSC) เป็นเครื่องมือบริหารจัดการธุรกิจสมัยใหม่
ถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1992 โดยศาสตราจารย์ Robert
Kaplan จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และ Dr. David
Norton ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารจัดการธุรกิจจากบริษัทที่ปรึกษา
โดยมีเจตนาครั้งแรกใช้เป็นเครื่องมือวัดผลการดำเนินการขององค์กร Kaplan
and Norton ปฎิวัติความคิดเกี่ยวกับการวัดผลการดำเนินงานขององค์กรโดยเพิ่มตัวชี้วัดที่ไม่ใช่การเงิน
เช่น ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายในหรือด้านการปฏิบัติงาน
และด้านการเรียนรู้และเติบโตหรือด้านขีดความสามารถขององค์กร
เพื่อให้องค์กรให้ความสำคัญกับความสำเร็จในระยะยาว
ตัวชี้วัดที่ไม่ใช่การเงินต้องการลงทุนและและใช้เวลาในการพัฒนา
ซึ่งเป็นความจำเป็นสำหรับการแข่งขันในยุคสารสนเทศ ดังนั้น BSC จึงคำนึงถึงความสมดุลของความสำเร็จระยะสั้นและระยะยาว
ตัวชี้วัดด้านการเงินและด้านที่ไม่ใช่การเงิน ต่อมา BSC ได้รับการพัฒนาเป็นเครื่องมือแปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
องค์ประกอบ
BSC มองผลการดำเนินงานขององค์กรเป็น 4 ด้าน คือด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการทำงานภายใน
และการเรียนรู้และเติบโต (วัฒนธรรมองค์กร
การเข้าถึงการเรียนรู้ การร่วมมือกัน และการแบ่งปันความรู้
การใช้เทคโนโลยีในการทำงาน ระบบแรงจูงใจ)
รูปที่ 1
Balance Scorecard (BSC) ปี ค.ศ.1992
ที่มา Kaplan,
Robert S; Norton, D. P. (1992). "The Balanced Scorecard – Measures That
Drive Performance". Harvard Business Review (January–February):
71–79.
หลักคิดพื้นฐาน BSC เป็นเครื่องมือบริหารจัดการเพื่อหาคำตอบให้กับคำถามว่า
ด้านการเงินว่า เรื่องใดเป็นเรื่องที่สำคัญต่อผู้ถือหุ้น ด้านลูกค้า เราอยากให้ลูกค้ามององค์กรอย่างไร
ด้านกระบวนการภายใน กระบวนการทำงานภายในองค์กรที่เพิ่มคุณค่าคือกระบวนการใด ด้านการเรียนรู้
เราจะสามารถปรับปรุง สร้างคุณค่า และนวัตกรรม และพร้อมในการแข่งขันในอนาคตเพียงใด
การนำไปใช้งาน
นอกจากเป็นเครื่องมือในการจัดการผลการดำเนินงานโดยวัดผล
4 ด้านแล้ว Kaplan และ Norton ยังใช้ BSC ในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ และใช้ในการสื่อสาร ถ่ายทอด
และติดตาม ทบทวน ปรับปรุงกลยุทธ์ เครื่องมือที่ใช้สื่อสาร ผ่าน Strategy
Map และใช้ในการทบทวน ติดตาม ปรับปรุงผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายตามแผนกลยุทธ์
BSC เป็นเครื่องมือการจัดการที่ช่วยให้องค์กรเลือกตัวชี้วัดที่ถูกต้องเพื่อบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ขององค์กร
BSC สามารถนำไปใช้ได้กับองค์กรทั้งองค์กรภาคภาครัฐและเอกชน
ตัวชี้วัดของ BSC ขึ้นอยู่กับลักษณะธุรกิจ
ตัวอย่างตัวชี้วัดที่ใช้งานได้แก่
1. ด้านการเงิน (Financial Perspective)
กลยุทธ์ที่องค์กรเลือก
เมื่อนำไปปฏิบัติแล้วจะให้ผลลัพธ์ทางด้านการเงิน (Bottom
Line) ที่ทำให้ฐานะการเงินแข็งแกร่ง ตัวชี้วัดได้แก่
· Operating
income
· ROI,
ROCE, EVA, EBITDA
· Sales
and revenue growth
· Product/customer/channel
profitability
· Revenue
per unit/customer/employee
· Cost per
unit
· Sale
costs as a percentage of total costs or revenue
2. ด้านลูกค้า (Customer Perspective)
ผลลัพธ์ที่ลูกค้ามีความพึงพอใจกับสินค้าและบริการ
ตัวชี้วัดได้แก่
· Market
share in target segments
· Existing
customer business development
· Customer
profitability
· Timely
and damage-free delivery
· Claim
and complaints handling
· Handling
services calls
3. ด้านกระบวนการภายใน (Internal Process Perspective)
ประสิทธิภาพหรือความสำเร็จของกระบวนการภายในที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ตัวชี้วัดได้แก่
· New
sales as a percentage of total sales
· Meeting
product introduction goals
· Product
development cycle
· Break-even
time realized
4. ด้านความสามารถในการเรียนรู้และเติบโต (Learning and Growth
Perspective)
เราประสบความสำเร็จในด้านการบริหารและพัฒนาบุคลากร
และการจัดการสารสนเทศและความรู้อย่างไร ตัวชี้วัดได้แก่
· New
sales as a percentage of total sales
· Employee
satisfaction and retention, or turnover rate
· Revenue
and or value added per employee
· Job-coverage
ratio
· Employee
training
· New
ideas (per employee, implemented)
· Information
availability relative to need
Strategy Map
Kaplan and Norton เขียนหนังสือ Strategy Map เพื่อทำให้กลยุทธ์เป็นเรื่องเข้าใจง่าย
Strategy Map มีลักษณะเป็นภาพกลยุทธ์และตัวชี้วัดแสดงในเอกสารหน้าเดียว
ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์ 4 มิติ
ของ BSC ที่ร้อยเรียงกันเป็นเหตุเป็นผลเพื่อสะท้อนภาพกลยุทธ์ขององค์กร
รูปที่ 2 Generic Strategy Map
ที่มา Robert
S. Kaplan and David P. Norton, Strategy Maps: Converting Intangible Assets
into Tangible Outcomes, 2004
ตัวอย่างการนำ Strategy
Map ไปใช้งาน
ในการนำเอา BSC ไปใช้งาน
ในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
ประเด็นหรือหัวข้อกลยุทธ์ถูกถ่ายทอดเป็นวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ ตัวชี้วัด
เป้าหมาย สำคัญ Balanced
Scorecard ประกอบด้วย ตัวชี้วัด เป้าหมาย ของ 4 มิติ บริษัทมี Balanced Scorecard ระดับองค์กรที่เชื่อมโยงกับ Balanced
Scorecard ของระดับล่างเช่น ระดับสายงาน และฝ่าย
การแปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ใช้เครื่องมือที่สำคัญ 2 ตัวคือ เครื่องมือ Strategy map และ Balanced Scorecard เป็นตัวปรับให้ทำให้พนักงานในองค์กรทำงานเป็นทิศทางเดียวกับยุทธศาสตร์
ระบบ BSC นอกจากใช้บริหารบริษัทที่มุ่งแสวงหากำไรแล้ว ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ระบบ BSC ยังมักถูกนำไปใช้ทั่วโลกในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ และการประเมินผลองค์กร
การแปลงแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ ใช้เครื่องมือที่สำคัญ 2 ตัวคือ เครื่องมือ Strategy map และ Balanced Scorecard เป็นตัวปรับให้ทำให้พนักงานในองค์กรทำงานเป็นทิศทางเดียวกับยุทธศาสตร์
ระบบ BSC นอกจากใช้บริหารบริษัทที่มุ่งแสวงหากำไรแล้ว ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ระบบ BSC ยังมักถูกนำไปใช้ทั่วโลกในการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ และการประเมินผลองค์กร
ที่มา
1.
Kaplan, Robert S; Norton, D. P. (1992). "The
Balanced Scorecard – Measures That Drive Performance". Harvard Business
Review (January–February): 71–79.
2.
Robert S. Kaplan and David P. Norton, The
Balanced Scorecard: Translating Strategy into Action, 1996
3.
Robert S. Kaplan and David P. Norton, The
Strategy-Focused Organization: How Balanced Scorecard Companies Thrive in the
New Business Environment, 2000
4.
Robert S. Kaplan and David P. Norton, Strategy
Maps: Converting Intangible Assets into Tangible Outcomes, 2004
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น