การจัดการกระบวนพัฒนากลยุทธ์
(Managing
the Strategy Development Process) หรือพูดแบบง่ายคือกระบวนที่
ใช้ในการจัดทำกลยุทธ์
คำถามส่วนใหญ่เกี่ยวกับกลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจใหม่จะกังวลเกี่ยวกับเนื้อหาของกลยุทธ์
ผู้จัดการมีความกังวลว่าเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมหรือไม่
แต่คำถามที่ผู้จัดการส่วนใหญ่มักไม่ได้ถามคือ กระบวนการที่ใช้พัฒนากลยุทธ์
เพื่อให้ได้กลยุทธ์และนำกลยุทธ์นั้นทำอย่างไร
กระบวนการจัดทำกลยุทธ์
(Processes
of Strategy Formulation)
ในทุกบริษัทมีสองกระบวนการที่เกิดพร้อมกันในการจัดทำกลยุทธ์คือ 1) กระบวนการจัดทำกลยุทธ์แบบที่ตั้งใจ
(Deliberate strategy) และ 2) กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ตามสถานการณ์ (Emergent strategy)
กระบวนการจัดทำกลยุทธ์แบบที่ตั้งใจ (Deliberate strategy) เป็นกระบวนการใช้สติและการวิเคราะห์ มักจะเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของตลาด ขนาดของตลาด ความต้องการลูกค้า จุดแข็งและจุดอ่อนของคู่แข่งขัน แนวโน้มเทคโนโลยี
กลยุทธ์ที่จัดทำมีลักษณะเป็นโครงการ คือมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด การนำไปปฏิบัติมีลักษณะจากระดับบนลงสู่ระดับล่าง (Top-down) การจัดทำกลยุทธ์แบบนี้เป็นวิธีที่เหมาะสม ถ้าผ่านการทดสอบ 3 ประการคือ 1) กลยุทธ์ต้องครอบคลุมและระบุรายละเอียดที่ถูกต้องทั้งหมดในการบรรลุความสำเร็จ และผู้นำไปปฏิบัติต้องเข้าใจรายละเอียดที่สำคัญ
ๆ ของกลยุทธ์ที่ฝ่ายบริหารเป็นผู้กำหนด 2) หากดำเนินการร่วมกัน กลยุทธ์ต้องเป็นสิ่งที่มีความหมายกับบุคลากรทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพนักงานหรือผู้บริหาร ทั้งนี้เพื่อให้พนักงานดำเนินการได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสม 3) ความตั้งใจร่วมกันต้องตระหนักว่ามีสิ่งที่มีอิทธิพลที่คาดไม่ถึงน้อยมากจากภายนอกเช่น
ด้านการเมือง เทคโนโลยี หรือตลาด
เมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขทั้ง
3 ประการแล้ว จะพบว่ายากมากที่มีกลยุทธ์เกิดขึ้นตามที่ตั้งใจไว้ กลยุทธ์ที่นำไปปฎิบัติจริงๆ มักเปลี่ยนแปลงไปตามผลกระทบของกลยุทธ์แบบสถานการณ์
กระบวนการจัดทำกลยุทธ์แบบสถานการณ์ (Emergent strategy) เกิดขึ้นในองค์กรจากการปฏิบัติการประจำวันและการตัดสินใจการลงทุนของผู้บริหารระดับกลาง วิศวกร พนักงานขาย
พนักงานด้านการเงิน สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้มักเกิดจากการตัดสินใจในการปฏิบัติงานประจำวันไม่ใช่เกิดจากคนที่มีมองเห็นอนาคต หรือคนที่ความคิดเชิงกลยุทธ์
ตัวอย่างเช่น
กรณี Sam
Walton ตัดสินใจสร้างร้านที่ 2 ในเมืองเล็กๆใกล้กับร้านแรกในเมือง
Arkansas ด้วยเหตุผลด้านโลจิสติกส์และประสิทธิภาพการจัดการมากกว่าจะสร้างอาคารในเมืองใหญ่
กลายเป็นกลยุทธ์ที่เฉียบคมของ Wal-Mart ในการสร้างร้านค้าแบบประหยัดในเมืองเล็กที่จะใหญ่พอที่ทำให้คู่ต่อสู้ไม่สามารถเข้ามาในตลาดได้
กลยุทธ์แบบสถานการณ์เกิดจากผู้จัดการตอบสนองต่อปัญหาและโอกาสที่ไม่สามารถเห็นได้จากการวิเคราะห์และการวางแผนตามขั้นตอนของกระบวนการสร้างกลยุทธ์แบบตั้งใจ
เมื่อกลยุทธ์ถูกพัฒนาขึ้นก็มีโอกาสที่จะปรับปรุงและใช้ประโยชน์และเปลี่ยนแปลงเป็นกลยุทธ์แบบตั้งใจได้ในที่สุด
กระบวนการจัดทำกลกลยุทธ์ตามสถานการณ์เหมาะสมกับสถานการณ์ซึ่งอนาคตไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า กลยุทธ์แบบใดจึงจะเหมาะสม มักเกิดขึ้นในระยะแรกของการก่อตั้งบริษัท
ความสำคัญของบทบาทในการจัดสรรทรัพยากรในกระบวนการพัฒนากลยุทธ์
(The
Crucial Role of Resource Allocation in the Strategy Process)
ความคิดและสิ่งใหม่ๆไม่ว่าจะเป็นแบบตั้งใจหรือแบบเกิดขึ้นตามสถานการณ์ได้รับการกรองผ่านกระบวนการจัดสรรทรัพยากร
(Resource
allocation process) การจัดสรรทรัพยากรเป็นตัวกำหนดว่ากลยุทธ์แบบตั้งใจและแบบตามสถานการณ์จะได้รับการสนับสนุนเงินทุนและการนำไปปฏิบัติ และกลยุทธ์อะไรที่ถูกปฏิเสธเรื่องทรัพยากร
ผลของกลยุทธ์ที่เกิดขึ้นจริงคือ การลงทุนในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ กระบวนการใหม่
และการซื้อกิจการ (Acquisition) ซึ่งได้รับการจัดสรรทรัพยากรซึ่งเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและสามารถเกิดขึ้นในทุกระดับของปฏิบัติการ
ตัวอย่างการจัดสรรทรัพยากรในการจัดทำกลยุทธ์ของ Intel
Intel เป็นผู้ผลิตหน่วยความจำในสมัยนั้นเรียกว่า DRAM ในปีค.ศ. 1971 ปรากฏว่าวิศวกรค้นพบไมโครโพรเซสเซอร์โดยบังเอิญในโครงการผลิตเครื่องคิดเลขให้บริษัทญี่ปุ่น
ในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของโรงงานมีหลักการว่าจะผลิตชิ้นส่วนที่มีกำไรต่อหน่วยมากที่สุด
โรงงานจะจัดสรรเครื่องจักรและทรัพยากรให้ก่อน ในสมัยนั้น DRAM มีการแข่งขันสูงเนื่องจากจากการเข้ามาแข่งขันของประเทศญี่ป่น
ทำให้ ไมโครโพรเซสเซอร์ มีกำไรต่อหน่วยมากกว่า DRAM โรงงานจึงเลือกผลิตไมโครโพรเซสเซอร์แต่ผู้บริหารระดับสูงยังวางแผนและลงทุนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี DRAM ในท้ายที่สุดโรงงานก็เลิกผลิต DRAM
มี 3 สิ่งที่ผู้บริหารสามารถช่วยให้กระบวนจัดทำการกลยุทธ์มีประสิทธิภาพ
1) ต้องควบคุมต้นทุนเริ่มต้นของการทำธุรกิจใหม่แบบระมัดระวังเพราะจะเป็นตัวกำหนดคุณค่าที่ใช้ในการตัดสินใจในการจัดสรรทรัพยากรของธุรกิจ
2) เร่งกระบวนการเมื่อเกิดกลยุทธ์ตามสถานการณ์ เพื่อทำให้แน่ใจว่าแผนธุรกิจได้รับการออกแบบและทดสอบและยืนยันข้อสมมติฐานที่สำคัญโดยใช้เครื่องมือเช่น
Discovery-driven planning
3) แทรกแซงโดยใช้ดุลพินิจว่าสถานการณ์แบบไหนที่ธุรกิจจะต้องปฏิบัติตามกลยุทธ์ตามสถานการณ์หรือแบบตั้งใจ
ที่มา: เรียบเรียงจาก The
Innovator’s Solution (2003)